วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551

เพลงแขกเชิญเจ้า เถา

เพลงแขกเชิญเจ้า เถา

ประวัติและที่มาของทำนอง

เพลงแขกเชิญเจ้า อัตรา ๒ ชั้น ประเภทหน้าทับสดายง (เทียบเท่าหน้าทับปรบไก่) มี ๒ ท่อน ท่อนที่ ๑ มี ๘ จังหวะ ท่อนที่ ๒ มี ๕ จังหวะ เป็นเพลงเก่าที่มีสำเนียงแขก เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ ครูเฉลิม บัวทั่ง เมื่อครั้งเป็นผู้ควบคุมดนตรีไทยของกรมตำรวจ ได้นำเพลงแขกเชิญเจ้า ๒ ชั้น มาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถา ทั้งทางร้องและทางดนตรี มีสำเนียงแขกเช่นเดียวกับ ๒ ชั้น ให้วงปี่พาทย์ไม้แข็งคณะศิษย์ดุริยศัพท์ (วงของครูเฉลิม บัวทั่ง) บรรเลงเป็นครั้งแรก ณ สังคีตศาลา กรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ และได้นำมาให้วงดนตรีคณะเสริมมิตรบรรเลงบันทึกเสียงเพื่ออกอากาศทางสถานีวิทยุเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔
ประมาณพ.ศ.๒๔๙๙ นายมนตรี ตราโมท ได้นำเพลงแขกเชิญเจ้า ๒ ชั้น มาบรรจุเนื้อร้องใหม่ แล้วประดิษฐ์ท่ารำเป็นระบำเทพบันเทิง ประกอบในการแสดงละครเรืองอิเหนา ตอนลมหอบ

บทร้องเพลงแขกเชิญเจ้า เถา

๓ ชั้น คิดพลางทางถวายเครื่องบวงสรวง บำบวงเทวราชเรืองศรี
ขออารักษ์หลักเมืองเรืองฤทธี ได้ปรานีเชิญช่วยจงสมคิด
ให้ประไหมสุหรีนั้นมีบุตร เป็นบุรุษรูปโฉมประโลมใจ
ได้ครอบครองพระนครขจรฤทธิ์ ลือสะท้านทั่วทิศทั้งปวง
๒ ชั้น แม้สมปรารถนาดังว่าขาน จะแต่งแก้บนบานบวงสรวง
เทียนทองชวาลาบุปผาพวง พรรณรายรุ้งร่วงเนาวรัตน์
จะแผ่ทองเก้าหุ้มเสาศาล เอาตาดคำทำม่านเพดานดัด
อีกทั้งธงทิวราชวัติ ชุมสายเศวตฉัตรชัชวาล
ชั้นเดียว ทั้งแพะแกะโคกระทิงสิ่งละร้อย จะปล่อยไว้ในเทวสถาน
จะสมโภชเจ็ดทิวาราตรี มีงานมหรสพครบครัน

บทละครเรื่องอิเหนา
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒

เพลงแขกเชิญเจ้า เถา

เพลงแขกเชิญเจ้า เถา

ประวัติและที่มาของทำนอง

เพลงแขกเชิญเจ้า อัตรา ๒ ชั้น ประเภทหน้าทับสดายง (เทียบเท่าหน้าทับปรบไก่) มี ๒ ท่อน ท่อนที่ ๑ มี ๘ จังหวะ ท่อนที่ ๒ มี ๕ จังหวะ เป็นเพลงเก่าที่มีสำเนียงแขก เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ ครูเฉลิม บัวทั่ง เมื่อครั้งเป็นผู้ควบคุมดนตรีไทยของกรมตำรวจ ได้นำเพลงแขกเชิญเจ้า ๒ ชั้น มาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถา ทั้งทางร้องและทางดนตรี มีสำเนียงแขกเช่นเดียวกับ ๒ ชั้น ให้วงปี่พาทย์ไม้แข็งคณะศิษย์ดุริยศัพท์ (วงของครูเฉลิม บัวทั่ง) บรรเลงเป็นครั้งแรก ณ สังคีตศาลา กรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ และได้นำมาให้วงดนตรีคณะเสริมมิตรบรรเลงบันทึกเสียงเพื่ออกอากาศทางสถานีวิทยุเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔
ประมาณพ.ศ.๒๔๙๙ นายมนตรี ตราโมท ได้นำเพลงแขกเชิญเจ้า ๒ ชั้น มาบรรจุเนื้อร้องใหม่ แล้วประดิษฐ์ท่ารำเป็นระบำเทพบันเทิง ประกอบในการแสดงละครเรืองอิเหนา ตอนลมหอบ

บทร้องเพลงแขกเชิญเจ้า เถา

๓ ชั้น คิดพลางทางถวายเครื่องบวงสรวง บำบวงเทวราชเรืองศรี
ขออารักษ์หลักเมืองเรืองฤทธี ได้ปรานีเชิญช่วยจงสมคิด
ให้ประไหมสุหรีนั้นมีบุตร เป็นบุรุษรูปโฉมประโลมใจ
ได้ครอบครองพระนครขจรฤทธิ์ ลือสะท้านทั่วทิศทั้งปวง
๒ ชั้น แม้สมปรารถนาดังว่าขาน จะแต่งแก้บนบานบวงสรวง
เทียนทองชวาลาบุปผาพวง พรรณรายรุ้งร่วงเนาวรัตน์
จะแผ่ทองเก้าหุ้มเสาศาล เอาตาดคำทำม่านเพดานดัด
อีกทั้งธงทิวราชวัติ ชุมสายเศวตฉัตรชัชวาล
ชั้นเดียว ทั้งแพะแกะโคกระทิงสิ่งละร้อย จะปล่อยไว้ในเทวสถาน
จะสมโภชเจ็ดทิวาราตรี มีงานมหรสพครบครัน

บทละครเรื่องอิเหนา
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒

เพลงแขกเงาะ เถา

เพลงแขกเงาะ เถา

ประวัติและที่มาของทำนอง

เพลงแขกเงาะ อัตราชั้นเดียวของเก่า หน้าทับปรบไก่ มี๒ ท่อน ท่อนที่ ๑ มี ๗ จังหวะ ท่อนที่ ๒ มี๘ จังหวะ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำทำนองชั้นเดียวมาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๒ ชั้นและ ๓ ชั้น ครบเป็นเพลงเถา เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘

บทร้องเพลงแขกเงาะ เถา

๓ ชั้น ครั้นเสด็จสรงสนานสะอ้านแล้ว ผ่องแผ้วปรีดิ์เปรมเกษมศรี
ชวนเงาะน้อยนอนเล่นเย็นดี นึกเทวีเทวษในวิญญา
โอ้ลำหับจับอกของเรียมเอ๋ย ไฉนเลยจะได้สมปรารถนา
แต่วันเห็นไม่เว้นทุกข์ทุกเวลา มาติดตาเตือนใจให้จำนง
๒ ชั้น ทราบว่าเขามีคู่สู้ห้ามหัก ยิ่งรื้อรักใฝ่ใจจนใหลหลง
เมื่อยามนอนถอนใจไม่หลับลง จะปลดปลงเสียด้วยงามเพราะความรัก
จะคิดผ่อนผันฉันใด จึงจะให้เจ้าแจ้งจริงประจักษ์
แม้ได้ไม้ไผ่เป็นสื่อชัก ท่วงทีดีนักจะได้การ
ชั้นเดียว คิดพลางทางพูดกับไม้ไผ่ ชักใช้เรื่องราวกล่าวถึงบ้าน
แล้วถามถึงลำหับเยาวมาลย์ บัดนี้คิดอ่านประการใด
ว่าฮเนาเขามาขอต่อพ่อแม่ จริงเช่นนั้นแน่หรือไฉน
แม้กูรักพ้องต้องใจ นางจะรักข้างใครใคร่เชยชิด

บทละครเรื่องเงะป่า
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕

เพลงแขกขาว เถา

เพลงแขกขาว เถา

ประวัติและที่มาของทำนอง

เพลงแขกขาว อัตรา ๒ ชั้นของเก่า ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ท่อนละ ๔ จังหวะ เป็นเพลงที่หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) แต่งให้ปี่พาทย์วงสวนกุหลาบ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ใช้ร้องและบรรเลงแทรกในตับนางลอยแทนเพลงจีนขิมเล็กเมื่อราว พ.ศ.๒๔๖๔
ต่อมา พ.ศ.๒๔๗๓ ท่านจึงได้แต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถา

บทร้องเพลงแขกขาว เถา
บทร้องที่ ๑

๓ ชั้น ทอดองค์ลงกับที่บรรจถรณ์ จะเปลื้องเครื่องอาภรณ์ก็หาไม่
ให้ระทวยระทดสลดใจ แต่ตริตรึกนึกในไปมา
๒ ชั้น โอ้ว่าโฉมเฉลาเยาวลักษณ์ เสียดายศักดิ์วงค์อสัญแดหวา
จะระคนปนศักดิ์จรกา อนิจจาพี่จะทำประการใด
ชั้นเดียว จะคิดไฉนดีนะอกเอ๋ย จะได้เชยชมชิดพิสมัย
พระเร่งร้อนร่านทะยานใจ ดังเพลิงกาฬผลาญไหม้ทั้งกายา

บทละครเรื่องอิเหนา
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒

บทร้องที่ ๒

๓ ชั้น เอนองค์ลงบนที่ไสยาสน์ ภูวนาถครวญใคร่ใฝ่ฝัน
ให้แสนเสน่หาอุณากรรณ หมายมั่นว่าเหมือนบุษบา
๒ ชั้น ทั้งทรวดทรงส่งศรีไม่เพี้ยนผิด ยิ่งคิดสงสัยเป็นหนักหนา
แล้วจะเป็นยาหยีของพี่ยา ดวงพักตร์ลักขณาละม้ายนัก




ชั้นเดียว อกเอ๋ยจะทำเป็นไฉน จึงจะสิ้นแหนงแจ้งประจักษ์
จะชวนสนิทติดพันผูกรัก พบพักตร์ก็เมินสะเทิ้นไป

บทละครเรื่องอิเหนา
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒

เพลงแขกกุลิต เถา

เพลงแขกกุลิต เถา

ประวัติและที่มาของทำนอง

เพลงแขกหนัง อัตรา ๒ ชั้นของเก่า หน้าทับปรบไก่ มีท่อนเดียว ๔ จังหวะ นายมนตรี -
ตราโมท ได้แต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถา เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ พร้องทั้งแต่งบทร้องและตั้งชื่อใหม่ตามถาษามลายู “เพลงแขกกุลิต” (คำว่า กุลิต แปล-ว่า หนัง)

บทร้องเพลงแขกกุลิต เถา

๓ ชั้น สายัณห์ตะวันชายฉายแสงส่อง ดังแสงทองส่องทอทิวกุหนุง
บุปผาหวนอวลอบตลบฟุ้ง กลิ่นจรุงเจริญใจใสสะคราญ
๒ ชั้น ดอกปาหนันพลันคลี่กลีบขยาย กลิ่นขยายปนรสสุคนธ์หวาน
ตันหยงร่วงหล่นพรูดูตระการ กุหลาบบานชูช่ออรชร
ชั้นเดียว บุหรงร้องก้องกึกอธึกป่า บ้างแถกแถโผผินเที่ยวบินร่อน
โกกิลาพาคู่สู่รังนอน หมู่ภมรว่อนหาผกาเชย
นายมนตรี ตราโมท แต่ง

เพลงเขมรเอวบาง เถา

เพลงเขมรเอวบาง เถา

ประวัติและที่มาของทำนอง

เพลงเขมรเอวบาง อัตรา ๒ ชั้นของเก่า ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ท่อนละ ๔ จังหวะ จางวาง ทั่วพาทยโกศล ได้นำมาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถาเพลงหนึ่ง และยังมีอีกทางหนึ่งไม่ทราบนามผู้แต่ง

บทร้องเพลงเขมรเอวบาง เถา

๓ ชั้น เมื่อนั้น นักคุ้มยินเสียงอึงมี่
จึงรีบออกไปดูที เผื่อจะมีเภทพาลประการใด
๒ ชั้น เห็นพระร่วงพ่อเมืองเรืองยศ เลี้ยวลดมาถึงเรือนใหญ่
กับเห็นพลเมืองชาวไทย แบกอะไรกันมาก่ายกอง
ชั้นเดียว รีบออกไปเพื่อจะได้รู้ตระหนัก ยืนชะงักชะเง้อคอจ้อง
เข้าใกล้ไปเพ่งเล็งมอง เห็นของประหลาดเหลือใจ

บทละครเรื่องพระร่วง
หรือกลอนบทละครเรื่องของดำดิน
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖

เพลงเขมรใหญ่ เถา

เพลงเขมรใหญ่ เถา

ประวัติและที่มาของทำนอง

เพลงเขมรใหญ่ อัตรา ๒ ชั้นของเก่า ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๔ ท่อน ท่อนละ ๔ จังหวะ เป็นเพลงเรื่องมีเพลงเขมรน้อยและเพลงเขมรกลางรวมอยู่ด้วย ต่อมาพระยาดุริยศัพท์ (แปลก - ประสานศัพท์) ได้แต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น สำหรับบรรเลงในวงปี่พาทย์และเครื่องสาย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงดัดแปลงเที่ยวกลับให้มีลูกล้อลูกขัดและสำเนียงเขมร พร้องทั้งตัดลงเป็นชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถา ประทานแตรวงของทหารบก ทหารเรือ และวงปี่พาทย์วังบางขุนพรหม บรรเลง

บทร้องเพลงเขมรใหญ่ เถา

๓ ชั้น เดินทางพระพลางคิดคำนึง ถวิลถึงบุษบามารศรี
แสนวิโยคโศกศัลย์พันทวี โศกีครวญคร่ำรำพัน
โอ้ว่าเสียดายดวงยิหวา งามเหมือนนางฟ้ากระยาหงัน
พี่รักเจ้าเท่าเทียมชีวัน หมายมั่นในองค์นงลักษณ์
๒ ชั้น จะได้น้องไปครองพารา ให้เกื้อหน้าปรากฏยศศักดิ์
จวนจะได้สู่สมภิรมย์รัก มีหมู่ปรปักษ์มาหักราญ
ลอบล้างกลางการภิเษกศรี ดังทรวงพี่จะแยกแตกฉาน
แม้นมันแกล้งริษยาสาธารณ์ ทำการอาจองทะนงใจ
ชั้นเดียว เป็นชายหรือมาหมิ่นชาย แม้พบโฉมฉายอยู่ที่ไหน
จะพันตูสู้รบจนบรรลัย ให้ลือชื่อไว้ทั้งธาตรี

บทละครเรื่องอิเหนา
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒