วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551

เพลงเขมรภูมิประสาท เถา

เพลงเขมรภูมิประสาท เถา

ประวัติและที่มาของทำนอง

เพลงเขมรภูมิประสาทเป็นทางเปลี่ยนของเพลงเขมรโพธิสัตว์ อัตรา ๒ ชั้นของเก่า ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๓ ท่อน ท่อนที่ ๑ และท่อนที่ ๒ มีท่อนละ ๔ จังหวะ ท่อนที่ ๓ มี ๙ จังหวะ
ราวพ.ศ.๒๔๙๓ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำเพลงเขมรโพธิสัตว์ทั้งเถามาแต่งทางใหม่ พร้อมทั้งทำทางเดี่ยวเฉพาะท่อนที่ ๓ ของแต่ละชั้นไว้ให้บรรเลงอวฝีมือ ตั้งชื่อว่า “เพลงเขมรภูมิประสาท” ตามชื่อนายประสาท สุขุม ประธานกรรมการโรงเรียนบางบัวทอง ซึ่งชอบเพลงเขมรโพธิสัตว์มาก และเคยปรารภอยากฟังเพลงนี้ในทางอื่นบ้างกับหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนบางบัวทองอยู่ด้วย บทร้องเพลงเขมรภูมิประสาท เถาคัดมาจากบทละครเรื่องศกุนตลา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

บทร้องเพลงเขมรภูมิประสาท เถา

๓ ชั้น นี่ฤาองค์ท้าวทุษยันต์ ผู้เกียติสนั่นบันลือศักดิ์
ช่างกระไรราชาแสนน่ารัก เห็นประจักษ์เป็นยอดขัตติยา
ดูกรทุษยันต์โปรพ ท้าววาสพผู้เป็นลูกข้า
ได้บอกเรื่องราวกล่าวมา ว่าราชาไม่ช่วยราวี
๒ ชั้น ปราบกาลเนมีห้าวหาญ แรงลานแพ้ฤทธิ์ป่นปี้
ตัวกูก็พลอยยินดี เธอมีความชอบจะตอบแทน
กูมีนางงามทรามสวาท จะประสาทให้เธอไม่หวงแหน
จะหาไหนไม่สู้ในดินแดน ถึงแม้ในเมืองแมนไม่หวงแหน
ชั้นเดียว ดูกรอทิติเสน่หา จงตามแก้วกัลยาเลอสรร
เราจะยกให้ทุษยันต์ เพื่อครองกันเกษมเปรมปรีดิ์
ขอกษัตริย์โปรพภพนาถ ทรงราชเกษมสุขี
ไชยะชัยชำนะไพรี อย่ามีเหตุร้ายบีฑา

บทละครเรื่องศกุนตลา
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖

ไม่มีความคิดเห็น: