วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551

เพลงขอมทอง เถา

เพลงขอมทอง เถา

ประวัติและที่มาของทำนอง

เพลงเขมรเหลือง อัตรา ๒ ชั้นของเก่า ประเภทหน้าทับสองไม้ มี ๗ ท่อน ท่อนที่ ๑ กับ ท่อนที่ ๒ มีผู้นำไปร้องประกอบการแสดงและออกภาษา
ราวพ.ศ.๒๔๖๘ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำเพลงเขมรเหลือมาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น เมื่อแต่งจบแต่ละท่อนก็ต่อให้ลูกศิษย์ทันที ขณะที่แต่ง นายมนตรี ตราโมท อยู่ที่นั้นด้วย เมื่อหลวงประดิษฐ์ไพเราะพัก ได้ให้นายมนตรี ตราโมท ช่วยแต่งต่อเป็นบางท่อนสลับกันไปจนจบเพลง ในการแต่งได้รวมท่อน ๑ และท่อน ๒ เป็นท่อนที่ ๑ และ ท่อน ๓ ถึงท่อน ๗ เป็นท่อนที่ ๒ แล้วให้ชื่อใหม่ว่า “เพลงขอมทอง” เพลงนี้แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญและปฏิภาณอันหลักแหลมของทั้ง ๒ ท่าน
ภายหลังหลวงประดิษฐ์ไพเราะจึงได้ตัดแต่งเพลงขอมทองลงเป็นอัตราชั้นเดียวบรรเลงรวมกับอัตรา ๒ ชั้นของเก่า ครบเป็นเพลงเถา

บทร้องเพลงขอมทอง เถา

๓ ชั้น พวกขอมพร้อมพรั่งกำลังพล เริงรณศัสตรากล้าแข็ง
ควรเราจะคิดซ่อมกำแพง ตกแต่งคูค่ายทั้งหลายไว้
เผื่อว่าพวกขอมยกมา จะได้ยึดพารามั่นได้
แล้วรีบส่งม้าเร็วไป ยังกรุงสุโขทัยธานี
เมื่อสุโขทัยรู้ว่าขอม มาล้อมละโว้บุรีศรี
บางทีจะส่งโยธี มาช่วยราวีศัตรูเรา
๒ ชั้น เพราะถ้าละโว้เสียเมือง ก็อาจระคายเคืองไปถึงเขา
ของอาจจู่โจมโรมรันเอา ผู้คนของเขาพลอยเดือดร้อน
ตูข้านี้เห็นชอบด้วย ต้องช่วยกันแต่งเมืองมั่นก่อน
ถ้าไม่ศัตรูยกจู่จร มาถึงนครจะเสียที
ตูข้าขอลาไปรีบแต่ง คูค่ายกำแพงบุรีศรี
จะจัดแจงแบ่งปันหน้าที่ ควบคุมชาวบุรีไปทำงาน




ชั้นเดียว ดูเอาเถิดชาวไทยใจหาญฮึก นึกนึกก็แสนจะสงสาร
จะต่อสู้ทัพขอมชัยชาญ จะทนทานได้เพียงสักเท่าใด
พวกเรามีแต่หยิบมือ ฤาว่าจะทานกำลังได้
ละโว้จะมีเหตุเภทภัย ก็เพราะตัวกูไซร้ทะนง

บทละครรำเรื่องพระร่วง
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖

ไม่มีความคิดเห็น: