วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551

เพลงกราวรำมอญ

เพลงกราวรำ อัตรา ๒ ชั้น และชั้นเดียว เป็นเพลงเก่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจองเกล้าเจ้าอยู่หัว พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร หรือ ครูมีแขก) ได้ปรับปรุงเป็นกราวรำ ๒ ชั้น ของเดิม โดยแปลงเสียงตอนท้าย ท่อนที่ ๒ ตอนจบให้ต่ำลงมาเป็นคู่ ๔ แล้วเรียกว่า กราวรำมอญ ๒ ชั้น ใช้บรรเลงร้องส่งมโหรีตับนางนาค ซึ่งประกอบด้วยเพลงนางนาค พัดชา ลีลากระทุ่ม กราวรำมอญ และโล้
นายมนตรี ตราโมท ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ยังมีเพลงกราวรำอีกทางหนึ่งเรียกว่า เพลงกราวรำเสภา ๒ ชั้น ใช้ในการเล่นเสภา โดยเปลี่ยนเสียงตอนท้ายท่อนที่ ๒ ตอนจบให้ต่ำลงมาจากเพลงกราวรำมอญอีก ๑ เสียง ซึ่งน่าจะเป็นผลงานของพระประดิษฐ์ไพเราะอีกเช่นกัน
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดความนิยมเพลง ๓ ชั้นกันมากขึ้นเนื่องมีการเล่นบอกสักวา พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) จึงได้ปรับปรุงขยายเพลงมโหรีตับนางนาคทั้งหมดขึ้นเป็นเพลง ๓ ชั้นทุกเพลง รวมทั้งเพลงกราวรำมอญ จึงเกิดเป็นเพลงกราวรำมอญ ๓ ชั้น ของพระยาประสานดุริศัพท์อีกทางหนึ่ง
จนถึง พ.ศ.๒๔๙๐ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้แต่งขยายเพลงกราวรำมอญ ๒ ชั้นชองพระประดิษฐ์ไพเราะขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้นอีกทางหนึ่ง และตัดลงเป็นชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถา พร้องทั้งได้แต่งบทร้องสำหรับเพลงกราวรำมอญ เถา ที่มีความหมายในการอวยชัยให้พรแก่ผู้ที่รักดนตรีไทย
ต่อมานายโชติ ดุริยประณีต ได้ประพันธ์บทร้องเพลงกราวรำมอญ เถา ขึ้นอีกบทหนึ่งใช้บรรเลงเป็นลา

บทร้อง เพลงกราวรำมอญ เถา
บทร้องที่ ๑

๓ ชั้น ขอท่านผู้ชอบดนตรีจงมีสุข นิราศภัยไกลทุกข์ทุกสิ่งสรรพ์
หวังสิ่งใดได้สมอารมณ์พลัน เกษมสันต์ทุกทิวาราตรีกาล
๒ ชั้น อายุขัยไม่น้อยกว่าร้อยปี มีวรรณะผ่องรีพละหาญ
ลาภไหลมาเนืองนองดังท้องธาร เกียรติตระการคู่ฟ้าธาตรี

ไม่มีความคิดเห็น: