วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551

เพลงเขมรพายเรือ เถา

เพลงเขมรพายเรือ เถา

ประและที่มาของทำนอง

เพลงเขมรอมตึ๊ก อัตรา ๒ ชั้นของเก่า ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ท่อนที่ ๑ มี ๔ จังหวะ ท่อนที่ ๒ มี ๓ จังหวะ ใช้ร้องในการแสดงโขน ละคร ครูเฉลิม บัวทั่ง ได้นำมาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถา ทั้งทางร้องและทางดนตรี และได้นำออกบรรเลงเป็นครั้งแรกในการบรรเลงปี่พาทย์ไม้แข็งคณะศิษย์ดุริยศัพท์ (วงของครูเฉลิม บัวทั่ง) ณ
บริเวณสังคีตศาลากรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ ปรากฎว่าเป็นที่พอใจของคนฟังมากจนนายเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีคณะสุนทราภรณ์ ได้นำทำนองเพลงเขมรพายเรือ ๓ ชั้นไปบรรจุเนื้อเต็ม ขับร้องเป็นเพลงไทยสากล ตั้งชื่อว่า “เพลงพายเรือพลอดรัก” เป็นที่นิยมร้องเล่นกันมากในสมัยนั้น เพลงเขมรรอบตึ๊ก ๓ ชั้นนนและชั้นเดี่ยวที่ครูเฉลิม บัวทั่ง ได้แต่งขึ้นใหม่นี้ นายมนตรี ตราโมท ได้เปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า “เพลงเขมรพายเรือ” เป็นเพลงงงสำเนียงงเขมรที่ไพเราะน่าฟังเพลงหนึ่ง

บทร้อง เพลงเขมรพายเรือ เถา
บทร้องที่ ๑

๓ ชั้น โอ้เจ้าประคูณทูนหัว ข้าเจ้านึกกลัวท่านผู้ใหญ่
เจ้าประคุณลูกขอชีวิตไว้ จะบอกความจริงใจทุกสิ่งอัน
๒ ชั้น พระร่วงนั้นไซร้ได้รู้เหตุ ว่าทัพมาสู่เทศเขตขัณฑ์
เกรงกลัวบารมีนั้นมากครัน จึงพลันเอาตัวรอดพ้น
ชั้นเดี่ยว รีบลี้หนีเข้าสู่ป่า เจ้าประคุณกรุณาอย่าฉงน
ละโว้ไซร้มิได้เตรียมพล ประชาชนไม่รู้เรื่องอะไร

บทละครร้องเรื่องพระร่วง
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖

บทร้องที่ ๒
๓ ชั้น พรั่งพร้อมบรรดาเสนามาตย์ บังคมบาทจอมไผทไพศาล
สถิตอยู่ท่ามกลางบริพาร ดูดังมัฆวานเทวิน
๒ ชั้น พระเดชพระจอมขอมไซร้ แผ่ไกลไปรอบขอบเขตสิ้น
ญวนลาวชาวไทยในแดนดิน โอนอินทรีย์นบอภิวันท์


ชั้นเดียว ขณะนั้นนเหลือบเห็นนายทหาร มากราบกรานนก้มหน้ากายาสั่น
มีดำรัสตรัสถามความพลัน เสนีคนขยันจงเล่ามา

บทละครรำเรื่องพระร่วง
หรือกลอนบทละครเรื่องขอมดำดิน
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖

ไม่มีความคิดเห็น: